เด็กไม่ได้เรียนรู้ผ่านการสอน
แต่ผ่านประสบการณ์ผัสสะของเขา

เด็กไม่ได้เรียนรู้ผ่านการสอน แต่ผ่านประสบการณ์ผัสสะของเขา

เราใส่อะไรผ่านผัสสะให้เขารับรู้ มันจะฝังในหัว ในตัวตน และจะส่งผลต่อการเป็นเขาในระยะยาว

หมอปอง นายแพทย์ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล

ในทางการแพทย์มนุษยปรัชญาบอกว่า กระบวนการกล่อมเกลาหรือเลี้ยงดูเด็กให้มีพัฒนาการทั้งกายและจิตใจ ต้องทำผ่านการสร้งประสบการณ์ให้กับผัสสะ (สัมผัส) ต่างๆ เพราะผัสสะเป็นการรับรู้โลกภายนอก

เด็กไม่ได้เรียนรู้ผ่านการสอน แต่ผ่านประสบการณ์ผัสสะของเขา เราใส่อะไรผ่านผัสสะให้เขารับรู้ มันจะฝังในหัว ในตัวตน และจะส่งผลต่อการเป็นเขาในระยะยาว

ผัสสะต่อชีวิต สำคัญต่อวิธีคิดในการจัดจังหวะชีวิต ส่งผลต่อวิธีคิดในการจัดการเวลาตอนโตขึ้น ทั้งยังเกี่ยวพันถึงเรื่องสุขภาพในระยะยาว อย่างที่คุณหมอยกตัวอย่างติดตลกว่า

‘เคยไหมที่เห็นเพื่อนบางคน ถึงเวลากินไม่กิน ถึงเวลานอนไม่นอน ถึงเวลาป่วย ดันโหมทำงาน?’ นี่นับเป็นผลพวงหนึ่งของการที่ถูกเลี้ยงอย่างไม่มีกิจกรรมที่มีจังหวะชัดเจน