
Waldorf for Early Childhood
โดยครู Jill Tina Taplin (เทอม 1 ปี 2565), ครู Kathy McFarlane (เทอม 2 ปี 2566)
แปลได้อย่างประทับใจโดย ครูเอ รวิมาศ ปรมศิริ
เนื้อหาจากโปรแกรมอบรมปฐมวัยวอลดอร์ฟ (Waldorf for Early Childhood Course)
พวกเราจับประเด็นที่น่าสนใจมาให้เข้าใจง่าย ในระยะเวลาสั้นๆ พร้อมวิธีที่สามารถนำไปปฏิบัติได้เลยค่ะ
(พวกเราเขียนเนื้อหาตามความเข้าใจของผู้เขียน ตรวจทานกันเองในทีม ครูและผู้แปลไม่ได้ตรวจทานให้นะ)
How would you change yourself ?
ครูบอกว่า ถ้าเราอยากซัพพอร์ตเด็กให้ได้ดี เราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง
- Creating Time & Space to do Self Reflection.การที่เราจะออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็กได้ เราจำเป็นต้องสะท้อนย้อนมองตัวเอง (Self Reflection)
ซึ่งเราต้องจัดสรรเวลาและพื้นที่ภายในตัวเราที่สงบเงียบเพื่อสะท้อนตัวเองได้ - มองเห็นและรับรู้การมีอยู่ของเด็กแต่ละคนเด็กๆ เมื่อเขาชื่นชอบที่จะเรียนกับครูคนไหน นั่นเป็นเพราะครูมองเห็น และรับรู้ถึงการมีอยู่ของเด็กคนนั้นในห้องเรียน
Ideas for isolating screens
- เมื่อเด็กๆ เล่นมือถือก่อนนอนเด็กๆ ติดมือถือก่อนนอน ก็เลยซื้อหนังสือนิทานวอลดอร์ฟให้ผู้ปกครองทุกคนอ่านให้เด็กๆ ฟังก่อนนอน
- ตัวอย่างกิจกรรมที่ชวนเด็กๆ ทำชวนเดินเล่นในสวน ดูเป็ดไก่ ดูพระอาทิตย์ขึ้นพระอาทิตย์ตก • ระบายสี เล่านิทานให้ฟัง นวด • จัดโต๊ะ ชวนทำอาหาร ชวนประดิษฐ์สิ่งของ
- กำหนดช่วงเวลาตอบแชทกำหนดช่วงเวลาว่าจะตอบแชทได้ตอนบ่าย 3-4 โมง พร้อมกับบอกเพื่อนหรือที่ทำงานให้รู้ด้วย
- ช่วงเวลาที่อยู่กับเด็กๆตอนที่เลือกแล้วว่าจะให้เวลากับเด็กๆ หรือเล่นกับเด็ก (กรณีมีเด็กคนเดียว) เอามือถือไปวางไกลๆ แล้วให้เวลาเด็กเต็มที่
- ตอนเย็นจะไปทำสวน แทนที่จะเล่น social mediaตอนเย็น แทนที่จะจะเล่น social media จะไปทำสวน หรือสิ่งอื่นๆ แทน
- ในห้องนอนนอนไปพร้อมลูก • ชาร์จมือถือไว้อีกมุมห้อง • ใช้นาฬิกาปลุก ที่ไม่ใช่มือถือ
- ไม่วางมือถือบนโต๊ะกินข้าวก่อนทานข้าว วางมือถือไว้ที่ที่กำหนดไว้ แล้วค่อยมานั่งทานข้าวด้วยกัน
Free Play
การเล่นอิสระ คือ การปล่อยให้เด็กเล่นด้วยตัวเอง
ส่วนผู้ใหญ่ก็สร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเล่น เช่น นำสิ่งไม่ปลอดภัยไปเก็บที่อื่น
ผู้ใหญ่ทำงานที่เป็นประโยชน์ของตัวเองในบริเวณที่เด็กเล่น + คอยสังเกต และเข้าไปแทรกแซงการเล่นเมื่อจำเป็นเท่านั้น
- เล่นอิสระคืออะไร ???เล่นอิสระ จึงเป็นช่วงที่เด็กได้ลงเอาเนื้อตัวไปเล่นด้วยแรงขับเคลื่อนข้างในของตัวเขา กับสิ่งรอบตัว ผู้คน ธรรมชาติ หรือสิ่งของที่มี ..ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
เราผู้ดูแลเพียงแต่สังเกตอยู่รอบนอก และเราจึงสามารถสังเกตเขาผ่านการเล่นแบบนี้ ว่าเด็กเขามีปัจเจกอย่างไรด้วยการก้าวพ้นจากการตัดสิน - มีลูกคนเดียว ให้เล่นอย่างไรเป็นเรื่องยากกว่ามากที่มีเด็กแค่คนเดียว เพราะเด็กจะอยากให้เราเล่นด้วย ..สิ่งที่จะช่วยได้ คือ ให้ตัวเองมีงานเข้าไว้ เด็กก็จะเห็นว่าเรายุ่งอยู่ เด็กก็จะไปเล่น
- Facilitate Free Playสังเกต + Intervene only when neccessary
บางเวลาครูและผู้ปกครองต้องช่วยนำเด็กเล่น เพราะไม่ใช่ว่าการเล่นทุกอย่างจะดี แต่เราจะเข้าไปเมื่อจำเป็นเท่านั้น เช่น เมื่อเราเห็นการเล่นหยุดชะงัก - วางใจใน Free Playสำหรับ Free Play เราจะสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเล่นอิสระ และวางใจว่าพวกเขาจะเล่นด้วยตัวเองได้
- Free Play ช่วยให้เด็กมีชีวิตอยู่ได้ด้วยดีทักษะทั้งหลายที่เราอยากให้ลูกหรือเด็กๆ มีในการดำรงอยู่ในอนาคต เด็กๆ สามารถเรียนรู้ทักษะเหล่านั้นทั้งหมดได้จาก Free Play (การเล่นอิสระ)
Adaptable • Overcome Sympathetic + Antipathy • Resilience • Inner Security … - Free play, for children, is the most learning.การเล่นอิสระ ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้มากที่สุด
12 Senses
เป็นพัฒนาการการเติบโตในทางการแพทย์มนุษยปรัชญา กระบวนการสร้างประสบการณ์ผ่านสัมผัสของเด็ก
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ผ่านการสอน แต่ผ่านประสบการณ์ผัสสะของเขาเราใส่อะไรผ่านผัสสะให้เขารับรู้ มันจะฝังในหัว ในตัวตน และจะส่งผลต่อการเป็นเขาในระยะยาว
- A moving child is a learning child.เด็กที่เคลื่อนไหวคือเด็กที่กำลังเรียนรู้
การเคลื่อนไหวร่างกายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาสมอง
โน้ตสั้นๆ
- พูดให้เห็นภาพเด็กๆ จะตอบสนองได้ดีต่อคำพูดที่เห็นภาพ
- ท่าทีที่เอาใจใส่ท่าทีของเราต่อหน้าเด็กๆ ต้องเป็นท่าทีที่เราเอาใจใส่ ดูแลโลก ดูแลคนอื่น ดูแลเด็ก
- แต่ละกิจกรรม มีจังหวะที่ชัดเจนเด็กสุขภาพดีจะเล่น
A healthy child plays. - เด็กไม่ได้เรียนรู้ผ่านการสอน แต่ผ่านประสบการณ์ผัสสะของเขาเราใส่อะไรผ่านผัสสะให้เขารับรู้ มันจะฝังในหัว ในตัวตน และจะส่งผลต่อการเป็นเขาในระยะยาว
- เวลาเด็กไม่เล่น เป็นสัญญาณว่าเด็กป่วยเด็กสุขภาพดีจะเล่น
A healthy child plays. - The play is refreshing, not tiring.การเล่นทำให้สดชื่น ไม่ได้ทำให้เหนื่อย
- เด็กๆ ที่อยู่หน้าจอจะใช้ระบบประสาทเพียง 2 ส่วน จาก 12 ส่วนเด็กๆที่อยู่หน้าจอจะใช้ระบบประสาทเพียง 2 ส่วน คือ การมองเห็นกับการได้ยิน
ในขณะที่ช่วงวัยเด็กๆต้องพัฒนาประสาทสัมผัสผัสสะทั้ง 12 ส่วน เด็กปฐมวัยต้องการการเคลื่อนไหว เพื่อให้ระบบร่างกายพัฒนาได้สมบูรณ์ ทั้งการเต้นของหัวใจ การหายใจ ระบบการย่อยอาหาร และการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทของสมองแต่ละส่วน - ไม่ต้องถามว่า วันนี้ทำอะไรมาไม่ต้องถามว่าวันนี้ทำอะไรมาบ้าง แค่ไปเดินเล่นกัน แล้วเด็กอาจจะค่อยๆ เล่าออกมาเอง
การถามไปทำลายภาพฝันในหัวของเด็ก ปล่อยให้ภาพนั้นความรู้สึกนั้นซึมซ่านและปรากฎในตัวในใจเด็ก เด็กอยากเล่าเมื่อไรก็จะเล่าเอง - ตั้งอนุบาลวอลดอร์ฟ มีหลักอะไรบ้างตอนที่ Steiner ให้ตั้งอนุบาลวอลดอร์ฟแห่งแรก ..Steiner ได้บอกไว้แค่ 4 อย่าง
1. Observe the Children : สังเกตเด็ก
2. Meditate : ทำสมาธิ / ภาวนา
3. Follow your intuition / inner known : ใช้สัญชาตญาณ หรือการหยั่งรู้ภายใน
4. Be on the path of development : อยู่ในเส้นทางของการพัฒนาตัวเอง - Teacher is a tool, children is the curriculum.โรงเรียนวอลดอร์ฟไม่มีหลักสูตร เด็กๆ จะบอกเราเองว่าเขาต้องการอะไร ดังนั้นเด็กๆ จึงเป็นหลักสูตรการเรียน
- We always want to develop resilience in children.ล้มแล้วลุกได้ และเรียนรู้ด้วย จะได้ไม่ต้องทำผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า
- A moving child is a learning child.เด็กที่เคลื่อนไหวคือเด็กที่กำลังเรียนรู้
การเคลื่อนไหวร่างกายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาสมอง
6 Exercises
แบบฝึกหัดสำหรับพัฒนาตัวเอง 6 อย่าง โฟกัสเดือนละอย่าง ทำทุกวันตลอดเดือน
พวกเราเริ่มทำเดือน เม.ย. 2566 หลังเรียนจบเทอมเลยค่ะ
- 6 Exercises : Basic for self developmentแบบฝึกหัดสำหรับพัฒนาตัวเอง 6 อย่าง แบ่งทำเดือนละอย่าง ช่วยเปิดจักระหัวใจได้
- ✏️ 1) Look at a simple man-made objectนั่งมองวัตถุเรียบง่ายที่คนทำ เป็นเวลา 5 นาที ในตอนเช้า
- ⌛ 2) Control of will through thinking : ทำในเวลาเดียวกัน ทุกวันทำสิ่งหนึ่งที่ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ในเวลาเดียวกันทุกวัน โดยไม่ตั้งนาฬิกาปลุก
- 🙂 3) Control the outer expressionในแต่ละวัน ถ้ามีเรื่องอะไรมากระทบ เราจะไม่แสดงอาการ แต่ไม่กดความรู้สึก
- 😊 4) Positivity : ทัศนคติด้านในNo matter what happen, we will find the positive.
- 💛 5) Open-mindedness : เปิดกว้าง แต่ไม่หูเบาเด็กๆ เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพราะเค้าเปิดกว้างมาก
- 💖 6) Try to do all of them together : ทำทุกข้อในทุกวันTry to do all of them together : ทำทุกข้อด้วยกันเลยในทุกวัน
8 Exercises
แบบฝึกหัดสำหรับพัฒนาตัวเอง 8 อย่าง ทำวันละอย่าง
เพื่อส่งเสริมการคิดให้ชัด พูดให้กระจ่าง
- 8 Exercises : 8 Right things{ The Eight-Fold Path }
คิดให้ชัด เหมาะสม และพูดให้กระจ่าง
แบบฝึกหัดสำหรับพัฒนาตัวเอง 8 อย่าง ทำวันละอย่าง
ช่วยเปิดจักระคอได้ - 🪐 Saturday : Right Thoughtวันเสาร์ : คิดอย่างเหมาะสม
• ใส่ใจในความคิดของเรา คิดเฉพาะเรื่องสำคัญ
• แยกความรู้สึกกับความจริงออกจากกันได้ แยกแยะความคิดที่เป็นแก่นสารออกจากที่ไร้แก่นสาร
ขณะฟัง
• ให้ภายในเงียบสนิท
• เว้นจากการคาดหวังว่าความคิดเห็นของผู้อื่นจะสอดคล้องกับเรา ละเว้นการวิจารณ์แม้ในความคิดและความรู้สึก - ☀️ Sunday : Right Judgementวันอาทิตย์ : มีดุลพินิจที่ถูกต้อง
• ไม่ด่วนตัดสิน/ตัดสินใจ มองให้รอบ
• ก้าวข้ามความชอบไม่ชอบ
• เมื่อเรามั่นใจแล้วว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ก็ต้องยึดมั่นในการตัดสินใจนั้นอย่างแน่วแน่มั่นคง - 🌙 Monday : Right Wordวันจันทร์ : มีคำพูดที่เหมาะสม
• พูดเฉพาะสิ่งที่มีความหมาย
• ไม่พูดมากเกินหรือน้อยเกิน
• ไตร่ตรอง พิจารณาถึงทุกแง่มุม ก่อนพูดออกมา
ขณะฟัง
• ฟังก่อน แล้วค่อยสะท้อนสิ่งที่เพิ่งถูกพูดออกมา - ⚪ Tuesday : Right Actionวันอังคาร : การกระทำชอบ
• การกระทำของเราส่งผลต่อผู้คนรอบตัวเราอย่างไร
• สิ่งที่เราทำ กลมกลืนกับสิ่งที่ดำเนินอยู่ไหม รบกวนใครหรือเปล่า
• พิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนจะสนองสถานการณ์ เพื่อประโยชน์สุขของเพื่อนมนุษย์ทั้งมวล ตลอดไป
• ประเมินอย่างถี่ถ้วนถึงผลของการกระทำก่อน - 🌑 Wednesday : Right Organizationวันพุธ : จัดการชีวิตอย่างเหมาะสม
เราจัดการชีวิตของเราอย่างไร ไม่ให้เร่งรีบเกิน ไม่ขี้เกียจเกิน เพื่อจะได้มีความก้าวหน้าในชีวิต + มีเวลาสะท้อนตัวเอง
มองชีวิตว่าเป็นหนทางการทำงานเพื่อยกระดับจิตใจและประพฤติตามนั้น - 🌟 Thursday : Right Effortวันพฤหัส : เพียรพยายามอย่างเหมาะสม
• เราได้ดำเนินชีวิตเพื่อเป้าหมายที่สูงขึ้นไหม เราพูดและทำในสิ่งเดียวกันไหม
• ไม่ควรทำอะไรที่เกินความสามารถของเรา แต่ไม่ควรละเว้นไม่ทำสิ่งที่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้
• พยายามพัฒนาตนเองจนภายหลังสามารถที่จะช่วยเหลือและแนะนำผู้อื่น แม้ว่าอาจจะยังทำไม่ได้ในอนาคตอันใกล้ก็ตาม - 🌕 Friday : Right Memoryวันศุกร์ : ระลึกชอบ
(จดจำได้ว่าเรียนรู้อะไรจากประสบการณ์)
• พยายามเรียนรู้ให้มากที่สุดจากชีวิต เราเรียนรู้ได้จากทุกคน หากเราใส่ใจพอ
• เราเรียนรู้จากประสบการณ์ และจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ไหม
• หากเราทำสิ่งใดพลาดหรือบกพร่อง จงให้มันกลายเป็นเครื่องจูงใจเราทำมันให้ดีขึ้น สมบูรณ์ขึ้นในภายหลัง - 🪞Reflect : สะท้อนตัวเอง เป็นระยะหันมองภายในจิตเป็นระยะ แม้จะเพียงชั่วห้านาทีในแต่ละวัน ณ เวลาเดียวกัน
• หรือมองเข้าไปในตัวเอง และย้อนมองว่าใน 7 วันที่ผ่านมา เราปฏิบัติแต่ละแบบฝึกหัดเป็นอย่างไรบ้าง
• ในการทำเช่นนี้เราควรจมลึกลงสู่ตัวเอง หารือกับตัวเองอย่างถี่ถ้วน ทดสอบและสร้างหลักการของชีวิตของเรา
• คิดทบทวนว่าเรารู้หรือไม่รู้อะไร ชั่งประเมินหน้าที่ ความบกพร่องของเรา
: อย่าหลงผิดคิดว่าเราทำสิ่งใดได้ดีแล้ว แต่ให้พยายามทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป
เพจและเว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับวอลดอร์ฟ
เรียนรู้จากมนุษยปรัชญา
เนื้อหาสาระพื้นฐานมนุษยปรัชญา
จัดทำโดยทีมงานปัญโญทัย ในนามชมรมมนุษยปรัชญา ประเทศไทย