อยากเปลี่ยนพื้นที่ร้างเป็นสวนผักกินได้

100 ฿

ให้คนในชุมชนปลูกผักผลไม้ ช่วยลดค่าใช้จ่าย ผู้สูงอายุได้ออกมาดูแลผัก บรรยากาศในชุมชนก็มีชีวิตชีวา

[wppb progress=”11900/300000″ option=flat color=#F8B4BC location=after text=”11,900 / 300,000 บาท”]

 

[countdown date=”31 October 2022″ format=”D”]

คำอธิบาย

ทำไมถึงอยากให้มีสวนผักในชุมชน

พื้นที่ร้างเป็นแหล่งของความไม่ปลอดภัย
ถ้าทำให้เกิดประโยชน์ได้ก็คงจะดี

เปลี่ยนเป็นสวนผัก ให้คนในชุมชนได้ช่วยกันปลูก ผู้สูงอายุได้มาดูแลผัก ทัศนียภาพในชุมชนดีขึ้น ค่าใช้จ่ายน้อยลง ชีวิตในชุมชนก็รื่นรมย์

  • เป็นสวนผักผลไม้ส่วนกลางที่คนในชุมชนมาช่วยกันปลูก และเก็บผลผลิตไปกินในชีวิตประจำวันได้ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
  • ผู้สูงวัยมักเป็นผู้ปลูก เพราะไม่ได้ทำงาน
    • ผู้สูงวัยได้มีกิจกรรมทำ ลดความตึงเครียด จากที่ส่วนใหญ่อยู่แต่ในบ้าน
    • ทำให้รู้สึกมีคุณค่า และเห็นว่าตัวเองยังทำอะไรได้
    • ได้ขยับร่างกาย สูดออกซิเจน และฝึกสติระหว่างปลูกผักได้ด้วย
  • เปลี่ยนภูมิทัศน์ในชุมชน เป็นพื้นที่ที่ใครผ่านไปมาได้เห็นก็รู้สึกสดชื่น มีพลัง อยากมีส่วนร่วม มีแรงใจในการทำการงานในทุกๆ วัน

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลายพื้นที่ได้รับผลกระทบแบบตั้งตัวไม่ทัน บางพื้นที่มีผู้ติดเชื้อหลายครอบครัว โรงพยาบาลเริ่มมีพื้นที่รองรับผู้ป่วยน้อยลง จึงจำเป็นต้องรักษาและกักตัวอยู่ในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งการปลูกผักกินเอง หรือมีสวนผักในชุมชน ทำได้ง่ายและช่วยได้มาก

แต่สำหรับผู้มีรายได้น้อยบางที่ ก็มีเงินไม่เพียงพอที่จะลงทุนหรือไม่กล้าลงทุนซื้ออุปกรณ์ปลูกผัก เรียนรู้ ลองผิดลองถูก จะรอดไม่รอด จะปลูกอะไรดี เราจึงมองเห็นว่าหากพวกเขาได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ในการทำเกษตรและเมล็ดพันธุ์ผักหรือกล้าพันธุ์พืชต่างๆ ก็จะช่วยให้ได้มีแหล่งอาหารของตัวเองได้ทันที โดยผลผลิตที่ได้ก็แบ่งกันทานในชุมชน คนในชุมชนได้มีกิจกรรมปลูกผักเก็บผัก แบ่งปันรอยยิ้มให้แก่กัน

ให้อะไรบ้าง

อุปกรณ์และเมล็ดพันธุ์ ที่จัดหาให้กลุ่มเปราะบางด้อยโอกาส (รายได้น้อยมาก) มีดังนี้

เมล็ดพันธุ์ ที่สามารถเพาะปลูกในรุ่นต่อๆ ไปได้ (เมล็ดพันธุ์ที่ตัดต่อพันธุกรรมไม่สามารถปลูกต่อได้)
อาทิ เมล็ดพันธ์ถั่วฝักยาว เมล็ดพันธุ์ฟักทอง เมล็ดพันธุ์คะน้า เมล็ดพันธุ์มะเขือ เมล็ดพันธ์แตงกวา เป็นต้น

กล้าพันธุ์พืช อาทิ ต้นแค ต้นมะม่วง ต้นขนุน

อุปกรณ์และดิน อาทิ จอบ เสียม บัวรดน้ำ สายยาง ดิน โครงปลูกผัก กระบะปลูกผัก เครื่องปั๊มน้ำ (เพื่อปั๊มจากคลองข้างที่) สายท่อ ก๊อก

อุดหนุนเมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้านจากคนตัวเล็กตัวน้อยเพื่อให้มีรายได้ดูแลสุขภาพ และมีเงินเก็บเพื่อดูแลตัวเองในเรื่องพื้นฐานได้

ฟักข้าว
ฟักข้าว ก็ปลูกได้

ช่วยที่ไหนบ้าง

กลุ่มเปราะบางด้อยโอกาส คนไร้บ้าน ชุมชนคนจนเมืองที่ได้รับผลกระทบจากโควิด

ชุมชนเหล่านี้

  • ชุมชนเคหะมีนบุรี-คลองเก้า
  • ชุมชนลาดพร้าว 45
  • หมู่บ้านเอื้ออาทรรังสิต
  • ชุมชนพูนทรัพย์ เขตสายไหม
  • ชุมชนเคหะฉลองกรุง
  • ชุมชนสุกกาทอง มีนบุรี
  • . เป็นต้น .

ลงขันแล้ว ทำอะไรบ้าง

  1. อุดหนุนเมล็ดพันธุ์ผักที่สามารถปลูกต่อได้ (ไม่ตัดแต่งพันธุกรรม : Non-GMO) โดยอุดหนุนจากคนตัวเล็กตัวน้อยเพื่อให้มีรายได้ดูแลสุขภาพ และมีเงินเก็บเพื่อดูแลตัวเองในเรื่องพื้นฐานได้
  2. ส่งต่อกลุ่มผู้ดูแลสวนส่วนกลาง โดยให้เมล็ดพันธุ์ผักผลไม้ตามความเหมาะสมของพื้นที่และสภาพดิน
  3. วิทยากรอบรมปลูก และคนในชุมชนช่วยกันปรับปรุงดิน
  4. ผู้ปลูกผู้ดูแลสวนมักเป็นผู้สูงวัย ทำให้ผู้สูงวัยได้มีกิจกรรมทำ ลดความเครียด จากที่ส่วนใหญ่อยู่แต่บ้าน ทำให้รู้สึกมีคุณค่า และได้เห็นว่าตัวเองยังทำอะไรได้อยู่นะ

* เริ่มดำเนินการตุลาคม 2565

ยอดลงขันเท่าไร

300,000 บาท

มีงบประมาณชุมชนละ 25,000 – 30,000 บาท (ไม่รวมค่าโครงสร้าง)

ช่วงเวลาลงขัน

กรกฎาคม – ตุลาคม 2565

ร่วมออกแรงโดย

พลเมืองอาสา ตั้งโครงการ จัดหาอุปกรณ์และเมล็ดพันธุ์ ลงพื้นที่ช่วยตั้งสวนผัก

คนในชุมชน ร่วมแรงกันทำสวนผักปันยิ้ม ดูแล และเก็บกิน แบ่งปันกัน

อยากร่วมจัดกิจกรรม ติดต่อพลเมืองอาสา

 

โลโก้ พลเมืองอาสา

 

หากเห็นว่าโครงการนี้ดี น่าสนับสนุน
มาลงขันกัน 🙂

 


โครงการที่เริ่มดำเนินการแล้ว

เมื่อเดือนมกราคม เริ่มจากที่ชุมชนเคหะคลอง 9 เขตคลองสามวา ลองให้คนในชุมชนมาปลูกผักเพื่อกินกันเองในชุมชน พอปลูกได้เยอะขึ้นก็มีมาขาย เมื่อกลางเดือนมีนาคม 2565 คนในชุมได้มาลองขายเอง ออกตลาดปัญญ์สุข ที่สวนโมกข์กรุงเทพ ผลตอบรับดีมาก คนในชุมชนก็ภาคภูมิใจในการนำเสนอผลผลิตของตัวเอง และมีกำลังใจที่จะปลูกและพัฒนาต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม

จำนวนเงิน

, , ,