เมื่อเราไม่มีเวลาเล่นด้วย จะทำอย่างไร
เวลาที่เราไม่มีเวลาเล่นด้วย เราอาจใช้ความสร้างสรรค์ของเรา หรือ creative play ให้เป็นสถานการณ์ที่เราทำงานไปได้ และมี interaction กับเด็กไปด้วย
เวลาที่เราไม่มีเวลาเล่นด้วย เราอาจใช้ความสร้างสรรค์ของเรา หรือ creative play ให้เป็นสถานการณ์ที่เราทำงานไปได้ และมี interaction กับเด็กไปด้วย
เด็กอาจขาดทักษะสังคมในการเล่นนี้ เมื่อเขาอยากมีส่วนร่วมอาจใช้การผลัก
เราแค่เข้าช่วยเหลือการเล่นในทิศทางบวกได้ เช่น “เธอมีมือที่ใหญ่มากเลย เราต้องการมือที่ใหญ่นี้มาช่วยสิ่งนี้”
Read more…
ตอนเราเล่านิทานเมื่อมีเด็กไม่สนใจ เราต้องใส่สีสัน ความชัดเจนของรายละเอียดนิทาน จินตนาการจะช่วยดึงให้เด็กสนใจได้
เด็กไม่ได้เลียนแบบเฉพาะสภาวะภายนอกของเรา เด็กยังเลียนแบบสภาวะภายในของเราด้วย เราจึงต้องมีจินตนาการในการนำการเล่น
เราเล่นคำกับเด็กๆ ได้ หรือให้เด็กๆ เล่นคำกันได้
เด็กบางคนที่เล่นของเล่นที่ซับซ้อนเกินไป จะทำให้เด็กขาดจินตนาการกับการเล่นที่เรียบง่าย
บางทีอาจมีทะเลาะกัน ครูก็อาจหันเข้าหากำแพง แล้วพูดกับกำแพงว่า “ในอนุบาลเราดูแลกันและกัน” หรือบางทีก็อาจพูดว่า “รู้ไหมในบางประเทศก็มีกษัตริย์สองพระองค์”
ในช่วง 2.5-5 ปี การเล่นของเด็กเหมือนอยู่ในฟองสบู่อันงดงาม อาจมีบ้างที่เราต้องเข้าไปแทรกแซงที่อาจเกิดอันตราย แต่เราก็ต้องมั่นใจว่าจะไม่ไปทำลายจินตนาการอันสวยงามนั้น
เช่น ครูเห็นเด็กวิ่งวนไปมาอยู่นาน ครูอาจจะไปยืนและบอกว่า ถนนนี้ปิดแล้ว เด็กก็จะมีพัฒนาการเล่นหนีเส้นทางนั้นได้
แค่หยอดไอเดียใหม่เข้าไป เด็กอาจเล่นต่อตามที่เราเสนอ หรือเล่นอย่างอื่นไปเลย เหมือนเราแค่แตะเบาๆ ที่ลูกโป่งนั้น ไม่ได้ไปควบคุม
Read more…
ในอนุบาลก็จะต้องมีอะไรสำหรับเล่นการสร้าง
เด็กๆ จะเรียนรู้สร้างบ้านที่จะไม่ล้มลงมา (Constructing things) เด็กๆ วัยนี้ก็จะเอาจริงเอาจังกับการต่อ กลิ้งสิ่งของ ฝึกใช้เพลา เด็กๆ ก็จะพยายามอย่างมากในการสร้างล้อ เพลา…
Read more…
ส่วนเด่นสำคัญของของเล่นในวอลดอร์ฟ คือ เป็นวัสดุธรรมชาติ เพราะว่าเด็กจะได้เรียนรู้ธรรมชาติและคุณลักษณะของวัสดุ
เช่น เก้าอี้ไม้ มีความหนัก เป็นการสอนคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็กไม่รู้ตัว
Read more…
เด็ก 2.5-5 ปี เป็นช่วงเวลาที่เด็กควรได้ของเล่นที่เรียบง่าย
เด็กจะเริ่มเล่นแบบมีจินตนาการมากขึ้น มองเห็นไม้ก็เอามาเป็นโทรศัพท์ได้ มองเห็นสิ่งหนึ่งให้เป็นสิ่งอื่นๆ ได้ ซึ่งก่อน 2.5 ปีจะยังทำไม่ได้
Read more…
แต่ผู้ใหญ่ก็ต้องเตรียมสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับเด็ก โดยเด็กบางคนอาจเข้ามามีส่วนร่วม มาช่วย
การที่เด็กเล่น และผู้ใหญ่ทำงานที่มีเป้าประสงค์ เป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับเด็ก
เวลาที่เด็กทำผิดพลาด ไม่ได้สำคัญว่าใครทำผิด แต่ให้ focus ไปที่ว่าแล้วเราจะยังไงต่อ
ถ้าเราสังเกตเด็ก เราจะรู้อยู่แล้วว่าเด็กรู้สึกยังไงผ่านการมองเห็นท่าทาง การแสดงออก
การที่พ่อแม่ไปถามจะยิ่งทำให้เด็ก preoccupy with yourself เราจะหลีกเลี่ยงการ push เด็กแบบนั้น
ช่วง 7 ปีแรก เด็กกำลังสร้างอวัยวะทั้งหมด กล่องเสียงของเด็กก็จะเสียหายได้ง่าย ยังบอบบาง pitch ที่เหมาะสมสำหรับเด็กจึงอยู่ประมาณเสียงสูง
แต่เสียงของผู้ใหญ่จะอยู่ประมาณเสียง A (ลา) เนื่องจากเด็กๆ จะเลียนแบบเรา ถ้าเราร้องระดับเสียงที่ไม่เหมาะกับเสียงเด็ก เสียงต่ำไปก็จะไปทำลายกล่องเสียงของเด็กๆ ได้
เมื่อเด็กถูกห้ามไม่ให้พูดภาษาแม่ เด็กอาจจะพอเข้าใจได้ว่า ถ้าในชั่วโมงภาษาอังกฤษ ต้องพูดเฉพาะภาษาอังกฤษ
การทำให้เด็กรู้สึกว่าภาษาไทยเป็นภาษาชั้นสองเป็นสิ่งที่ไม่ควร แน่นอนว่าภาษาอังกฤษมีประโยขน์ แต่การลดค่าภาษาของตัวเราเองเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม
การพูดว่า “ฉัน” แปลว่าเด็กเกิดการตระหนักรู้ในตัวเองแล้ว ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เลียนแบบได้ เป็นช่วงเวลาที่อ่อนไหวมากสำหรับเด็ก
แต่ไม่ต้องประคบประหงมกับความเป็น “I”
อยากกินอะไร จะเอาอันไหน จะทำให้กลายเป็นเด็กช่างเลือก เราใส่ใจ เรารับรู้ว่าเขาชอบหรือไม่ชอบอะไร แต่ไม่ต้องไปเน้น
Read more ..
สำคัญมากที่เด็กน้อยกว่า 3 ปี พ่อแม่จะต้องพูดภาษาแม่ของตัวเอง
เป็นเรื่องที่สำคัญต่อจิตวิญญาณด้วย เป็นสัมผัสทางใจในการเป็นคนชนชาตินั้นๆ ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงภายในอย่างมาก เป็นภาษาที่ติดตัวเรา
ถ้าตอนเด็กๆ พ่อแม่ใช้ภาษาที่ตัวเองไม่ได้พูดได้อย่างคล่องมากๆ โตขึ้นมาเด็กจะมีแนวโน้มว่า อยู่ที่ไหนก็รู้สึกว่าไม่ใช่บ้านของตัวเอง
เด็กเล็กๆ ที่เค้ามาถามคำถาม แต่บางทีเค้าไม่ได้ต้องการคำตอบ เค้าแค่เพียงต้องการสร้างความสัมพันธ์กับเรา
เวลาที่เด็กกลับจากอนุบาล สิ่งที่พ่อแม่ทำได้คือหาอะไรให้เค้ากิน พาไปเดิน การไปเดินเป็นจังหวะแบบแผน การเดินเคียงข้างไปด้วยกันเป็นจังหวะที่ดีที่จะสนทนา เด็กอาจจะเริ่มเล่าออกมาเอง
จนกว่าเด็กจะอายุ 6-7 ปี เราจะไม่เล่นเกมความจำ แน่นอนว่าเด็กๆ จำได้ว่าต้องทำอะไร แต่เราจะไม่ไปถาม ปล่อยให้เด็กเติบโตอย่างอิสระด้วยเจตจำนงของเค้า
Read more…
เมื่อเราให้เด็กได้เคลื่อนไหวอิสระ คือเราส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการ ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง
หลานชายครูคนโตขาดโอกาสพัฒนามาก เพราะมีคนคอยมาช่วยประคองตลอด ในขณะที่หลานสาวอีกคนมีโอกาสเยอะ คลานได้เร็ว ช่วยเหลือตัวเองได้เร็ว
Read more…
เราต้องย้อนกลับมาดูว่า ‘แล้วการศึกษาของเราได้ช่วงชิงวันเวลาที่จิตวิญญาณของเราจะตื่นรู้ เพื่อที่จะรับรู้ความจริง ความงาม ความดี ไปจนหมดเลยหรือเปล่า’
ดังนั้นจึงเป็นพื้นที่ของศิลปะ ดนตรี ที่จะมาช่วยเยียวยาผู้คนให้กลับไปเห็นความจริง ความดี และความงามอีกครั้ง
Read more…
การเรียนเร็วเกินกว่าช่วงวัย ที่เราถือว่าประสบความสำเร็จ แต่เป็นเพียงความสำเร็จทางโลก
ในวัยเด็ก เด็กต้องการ ‘เล่น’ มากที่สุด เพราะเขาต้องการเห็นโลกที่ดี โลกที่งาม และโลกที่จริง แล้วเขาจะโตขึ้นด้วยสุขภาพจิตใจที่ดี
ห่างไกลจากการเจ็บป่วยทางจิตใจ จิตวิญญาณ ซึมเศร้า หมดอาลัย ท้อแท้ และนำไปสู่ปรากฏการณ์ที่ว่า ฉันไม่อยากอยู่แล้ว
Read more…
คนคนหนึ่งจะมีความสุขได้ ต้องมีความยืดหยุ่นและมีพัฒนาการที่เรียกว่า ‘ฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานของชีวิต’
การศึกษาก็คือการให้ปรัชญาหรือมุมมองชีวิตกับเด็กคนหนึ่งตั้งแต่เล็กๆ
เพื่อวันที่เขาโตขึ้น เขาจะได้อาศัยต้นทุนนี้ในการเข้าสู่สังคม ปรับตัวให้เข้ากับการงานแบบผู้ใหญ่ มีมุมมองต่อโลก มีครอบครัว มีชีวิตส่วนตัว และท้ายที่สุด จะได้กลายเป็นคนที่สมดุลและมีความสุข
🌺การเล่นอิสระที่แท้จริง🌺
ต้องเป็นการเล่นที่เด็กกำหนดขึ้น
จากจินตนาการ
และเป็นอิสระจากทุกสิ่ง
👵กิจกรรมที่มีผู้ใหญ่ชี้นำ
หรือผลักดันให้เกิดการเล่นขึ้นนั้น
มิใช่การเล่นอิสระ
🧚♀️การเล่นจึงเป็นการเรียนรู้
เป็นการฝึกฝน ให้เกิดความเข้าใจ
ให้เกิดเป็นทักษะหลากหลายด้าน
เป็นการเรียนรู้ด้วยความเบิกบาน
ไม่รู้เบื่อ…….🧚♀️
Read more…
พัฒนาการของเด็กเปรียบได้กับฟองน้ำที่ดูดซับจากสิ่งรอบตัวของเขาจากภายนอก
ทั้งจากที่เห็นได้ คือ พฤติกรรมที่แสดงออก
และระดับที่ลึกลงไปคือด้านในจิตใจทั้งตัวตนของคนที่อยู่รอบข้างเขา
ธรรมชาติของวัยอนุบาลคือการเล่น เล่นอย่างอิสระ
การไม่ขัดจังหวะการเล่นของเด็กถือเป็นการเคารพสิทธิให้เด็กได้สร้างจินตภาพได้อย่างเต็มที่
เข้าใจธรรมชาติการเติบโตของเด็กอย่างเป็นลำดับขั้น ไม่เร่งรัดการอ่านเขียน
พื้นฐานการบ่มเพาะจิตวิญญานดวงหนึ่งเกิดจากกิจกรรมภายในบ้านผ่านการลงมือทำ ‘will’
ไม่ว่าจะเป็นงานบ้าน งานครัว และงานสวน ล้วนเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและกิจวัตรของคนเรา
ถ้าเราสามารถนำให้บรรยากาศในการทำกิจกรรม เหมือนกับเป็นการทำเล่นๆ เด็กจะรู้สึกผ่อนคลายไปด้วย
เพียงแต่ครูจะต้องรู้ว่า เราไม่ได้ทำมันเล่นๆ หากร้องเพลง เราจะร้องให้จบเพลง ผิดถูกไม่เป็นไร อารมณ์ขันจะช่วยได้
อ่านเพิ่ม…